โครงการเผยแพร่ผลงานจิตรกรรม “ครุศิลปะสร้างสรรค์งานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ”
ระหว่างวันที่ 27 กันยายน - 18 ตุลาคม 2553 ณ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
การเดินทางดูงานในประเทศสหรัฐอเมริกาแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
1. เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์
2. ไปเยี่ยมชมสถานที่สำคัญ
3. ศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เยี่ยมชม Studio ศิลปินอเมริกัน ศึกษาวิถีชีวิตการทำงานของศิลปิน และปฏิบัติการงานศิลปะ
1. พิพิธภัณฑ์และหอศิลป์
- เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์
- สวนประติมากรรมที่ The
- พิพิธภัณฑ์
- พิพิธภัณฑ์
- พิพิธภัณฑ์ The
- พิพิธภัณฑ์
- พิพิธภัณฑ์
- พิพิธภัณฑ์ The Hess Collection ,
2. สถานที่สำคัญ
- เยี่ยมชมเมือง
- Grand Canyon รัฐ
- วัดไทยในนครลอสแอนเจลิส
- Valley of fire รัฐ
- เยี่ยมชมโรงถ่าย Universal Studios Hollywood theme park in
- ชม The
- ชมสถาปัตยกรรม The Walt Disney Concert Hall ,ออกแบบโดย Frank Gehry.
3. ศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เยี่ยมชมสตูดิโอศิลปินอเมริกัน ศึกษาวิถีชีวิตและการทำงานของศิลปิน ปฏิบัติงานศิลปะ
- เดินทางเยี่ยมชมสตูดิโอศิลปินนานาชาติ Diana Wong ที่เมือง
- เยี่ยมชมสภาศิลปกรรมไทยแห่งสหรัฐอเมริกา แห่งที่ 2 เมือง
- พิธีเปิดนิทรรศการแสดงผลงาน ดร.กมล ทัศนาญชลี ณ หอศิลป์ LA
- พิธีเปิดนิทรรศการแสดงศิลปะของศิลปินแห่งชาติ และคณะอาจารย์ศิลปิน ณ สถานกงสุลไทย นครลอสแองเจลิส
- Open House และนิคมทางศิลปะที่เมือง
- Open House และนิคมทางศิลปะ ณ หอศิลป์ LA Art core Gallery
- ศึกษาแลกเปลี่ยนกับศิลปินญี่ปุ่น ศิลปินเกาหลี ศิลปินอเมริกัน ณ สภาศิลปกรรมไทยแห่งที่ 1
- ศึกษาแลกเปลี่ยนกับอาจารย์สุทัศน์ ศิลปินไทยในเมริกา ณ บ้านพักและสตูดิโอ
- ปฏิบัติงานศิลปะผลงานชุดรวม (10 ชิ้นต่อกัน) ณ สภาศิลปกรรมไทยแห่งที่ 1
ผลที่ได้รับจาการศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. เป็นการเปิดมุมมองและโลกทัศน์ให้กว้างไกล ได้ศึกษาศิลปะที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ความหลากหลายทางความคิดและเทคนิค นิคมศิลปะขนาดใหญ่ ความก้าวหน้าและมุมมองจากแหล่งผลิตงานศิลปะที่มีอิทธิพลในวงการศิลปะนานาชาติ
2. ประสบการณ์จากการได้สัมผัสผลงานศิลปะจริงที่เป็นต้นฉบับ ได้โต้ตอบทางความคิดความรู้สึกกับงานศิลปะระดับโลก ได้พบเห็นรายละเอียดปลีกย่อยเทคนิคเฉพาะ ความงาม พื้นผิว และมิติที่ซ้อนอยู่โดยไม่สามารถหาได้จากการดูภาพถ่าย ทำให้สามารถถ่ายทอดความรู้ การเปรียบเทียบได้สมจริง และเปี่ยมด้วยจินตนาการ
3. เรียนรู้การจัดระบบการจัดการพิพิธภัณฑ์ระดับโลก วิธีการนำเสนอผลงาน การบริหารการจัดการผลงาน การดูแลรักษางานศิลปะ การออกแบบแสง การจัดการสร้างคนดู ปลูกฝังความรู้ทางศิลปะตั้งแต่เยาวชน ให้เตรียมตัว รู้ระเบียบตั้งแต่เล็ก มีการผลิตนักวิชาการ ตำรารองรับ จัดระบบการเรียน โดยมีหลักสูตรเป็นตัวช่วย มีนิทรรศการหมุนเวียน นิคมศิลปะ สร้างบรรยากาศให้ศิลปะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน มีการสะสมความรู้แลกเปลี่ยนศิลปะตั้งแต่เด็ก เป็นการปลูกฝังและทำให้คนในชาติมีความเข้มแข็งในเรื่องศิลปะ
4. ได้เรียนรู้แนวความคิด เทคนิค การเคลื่อนไหวของศิลปะในอดีตถึงปัจจุบัน ที่อเมริกาการสอนจะเน้นกระบวนการคิด แข่งกันที่ความคิด ไม่เน้นเรื่องราวฝีมือ แต่จะเน้นกระบวนการคิด คิดใหม่ คิดก่อน คิดต่าง คิดไม่เหมือนใคร คิดได้น่าสนใจเป็นเรื่องสำคัญ นักศึกษาจะถูกฝึกเรื่องนี้ ถ้าสามารถ Present ได้ทำให้คนเชื่อหรือเกิดไอเดีย คือจุดสำคัญ ฝีมือ ความประณีตเป็นเรื่องในอดีต ทำมาหมดแล้ว งานในปัจจุบันจะไม่ซ้ำรอยอดีต ต้องคิดใหม่ กระบวนการทำจะไม่ใช้เครื่องมือแบบเดิม สี พู่กัน ดินสอ มันผ่านไปแล้ว ต้องหาวัสดุและกระบวนการทำใหม่ คิดเครื่องมือใหม่ ความคิดใหม่ การแสดงออกใหม่ ในอเมริกาทำได้ เพราะศิลปินเป็นอีกอาชีพที่ได้รับการยอมรับ ไม่ต้องมีฝีมือประณีตมากแต่คิดจนทะลุก็สามารถอยู่ได้ แต่เมืองไทยศิลปินต้องมีฝีมือเพื่อไปทำงานอย่างอื่นด้วย ต้องดูสภาพแวดล้อมความเป็นจริงค่อยๆ ปรับทำเหมือนเลยไม่ได้
งานที่ศิลปินรุ่นใหม่ทำเน้นความคิด เทคนิค การนำเสนอใหม่ ถ้ามีการนำเรื่องเก่ามาทำ จะต้องมีความคิดใหม่ทับลงไป งานจะเน้นไอเดียที่จะต้องปรากฏให้เห็น มีมุมมองใหม่ เทคนิคการนำเสนอ แนวความคิดเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ทำอย่างไรจะคิดได้ ต้องอ่าน เห็น ฝึกตั้งคำถาม สงสัย วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ เป็นการฝึกความคิด
ถึงแม้ศิลปินจะนำเสนอผลงานแนว Abstract หรือ Conceptual แต่จะลับฝีมืออยู่ตลอดเวลาด้วยการเขียนภาพทิวทัศน์ เช่น อาจารย์กมล จะเขียนภาพทิวทัศน์ตลอดเวลา ที่ไปสถานที่ต่าง ๆ เป็นคนที่ขยันมาก
5. ได้ศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิตผู้คน สังคม บ้านเมือง (บางส่วน) ทุกคนจะรักษาสิทธิมีระเบียบมากรักษากติกามารยาท
6. ประสบการณ์จากการศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การปฏิบัติงานศิลปะร่วมกับครุศิลป์ 10 ท่าน ได้เรียนรู้เทคนิค แนวคิด มุมมอง การอยู่ร่วมกัน ความสามัคคี ความมีน้ำใจ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รวมทั้งได้เห็นการปฏิบัติงานศิลปะนอกสถานที่ของ อ.กมล และงานศิลปะใน Studio มีโอกาสซักถามความเคลื่อนไหวและแนวคิดของวงการศิลปะในอเมริกา รวมทั้งได้เยี่ยมชม Studio ของศิลปินในอเมริกาและเทคนิคในการสร้างงานศิลปะอีกด้วย
7. ได้พบบุคคลต้นแบบที่เป็นตัวอย่างของการอุทิศตัวและเสียสละ เพื่อวงการศิลปะในเมืองไทยคืออาจารย์กมลและพี่นวลศรี ทัศนาญชลี ที่ให้การสนับสนุนช่วยเหลือทุกอย่าง โดยเป็นผู้รับผิดชอบการไปศึกษาเรียนรู้ของกลุ่มครุศิลป์ในอเมริกาครั้งนี้ (และกลุ่มอื่นมานานนับ 30 ปี) ซึ่งเป็นการสร้างคน สร้างโอกาส สร้างเครือข่าย และสร้างศักยภาพระยะยาวในการพัฒนากลุ่มอาจารย์ศิลปะอย่างเป็นระบบ เป็นตัวอย่างและแรงบันดาลใจที่จะพัฒนาตนเอง ต่อยอดทางความคิดและสร้างเมล็ดพันธุ์ทางศิลปะให้สังคมต่อไป
Spades Tint Gold Classic iPhone 2 1 - TheTianium Arts
ตอบลบThe Spades Tint Gold Classic titanium teeth iPhone 2 1 iPhone 2 1 1 0 0. 4.3. nano titanium by babyliss pro 5. 0. 3.5. 6. 5. 5. 6. 6. 5. 6. 5. 6. 6. 6. 6. 7. 6. 7. 6. 7. 7. 7. 7. 7. 7. 7. 8. 7. 7. 8. 7. 7. 8. 7. 8. 7. 8. 7. 8. 8. 7. 8. 7. 8. microtouch titanium 8. 7. 8. 8. 8. 8. 8. 8. titanium bolts 8. 8. 8. 8. 8. 8. 8. 8. 8. 8. 8. 8. 8. 8. 8. 8. 8. nano titanium by babyliss pro 8. 8. 8.
q209l6macea962 horse dildo,dog dildo,prostate massagers,horse dildo,wholesale sex toys,silicone sex doll,black dildos,sex chair,dildos h080x4eijkz791
ตอบลบ