The 8th International Visual Arts Workshop and Exhibition

14th – 17th February 2012
Poh Chang Academy of Arts
Organized by
Poh Chang Administrative Office
Thai Art Council of the United States of America

And
Rajamangala University of Technology Rattanakosin (RMUTR)
14th February (Poh Chang Academy of Arts, Bangkok)











ความเป็นมาโครงการปฏิบัติการทางทัศนศิลป์และนิทรรศการนานาชาติ

ระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2549-53) ของการเป็นสถาบันอุดมศึกษาเต็มตัว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ หรือ มทร.รัตนโกสินทร์ ในมิติของการทำนุศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยได้สะสมผลงานศิลปะของศิลปินแห่งชาติ ศิลปินนานาชาติ และศิลปินชั้นนำของไทยไว้เป็นจำนวนมาก ผลงานจำนวนนี้เป็นผลมาจากการจัดโครงการปฏิบัติการทางทัศนศิลป์และนิทรรศการนานาชาติ หรือ อาจมีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่นมาก่อนว่า “เทศกาลศิลปะนานาชาติ” (International Art Festival) ซึ่งดำเนินการติดต่อมาทุกปีนับแต่ปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน

โครงการปฏิบัติการทางทัศนศิลป์และนิทรรศการนานาชาติ

เกิดขึ้นในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการแยกตัวออกมาเป็นมหาวิทยาลัย และโครงการนี้เป็นโครงการหนึ่งที่ รองศาสตราจารย์ ดร.อิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์ อธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ให้การสนับสนุนมาตั้งแต่ได้รับโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นอธิการบดี เมื่อ พ.ศ. 2549 ด้วยเล็งเห็นว่า การเรียนการสอนศิลปะและหัตถกรรมที่วิทยาลัยเพาะช่างเป็นจุดเด่นอันหนึ่งของมหาวิทยาลัย อีกทั้งยังมีปัจจัยเกื้อหนุนจากศิษย์เก่า 28 ท่านที่ได้รับยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ และที่ประสบความสำเร็จในวงการอาชีพต่างๆ อีกหลายสาขา รวมถึงบรรดาครูอาจารย์ที่สอนอยู่ในโรงเรียน วิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ

นับตั้งแต่มีการดำเนินโครงการนี้ตั้งแต่ครั้งที่ ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยใช้งบประมาณ 4 ล้านกว่าบาทในการดำเนินการ เพื่อผลักดันให้โครงการนี้เป็นเวทีที่เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและระดับนานาชาติ ที่สำคัญคือเป็นการเปิดโอกาสให้ศิลปินไทยที่เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยน ความคิดรูปแบบ และการแสดงออกทางศิลปะกับศิลปินนานาชาติ อีกทั้งศิลปินแต่ละท่านยังแสดงกระบวนการคิด การสร้างสรรค์ผลงานตั้งแต่เป็นแบบร่างจนกระทั่งเป็นผลงานสำเร็จให้เห็นโดยไม่ปิดบัง อันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักเรียน นักศึกษา ศิลปิน และ ผู้สนใจศิลปะ

โครงการปฏิบัติการทางทัศนศิลป์และนิทรรศการนานาชาติ ครั้งที่ 1-4 จัดที่วิทยาลัยเพาะช่าง กรุงเทพมหานคร และครั้งที่ 5 จัด ณ จังหวัดเชียงราย ในแต่ละครั้งมีผู้เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในการจัดครั้งที่ 5 ซึ่งเป็นความร่วมมือหลายองค์กร มีอาจารย์ศิลปะและศิลปินเข้าร่วมโครงการกว่า 100 คน จาก 14 ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส สวีเดน จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ไทย พม่า เวียดนาม ลาว กัมพูชา สิงคโปร์ และ ศรีลังกา

ผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมดจะใช้เวลาร่วมกัน 4-5 วันเพื่อสร้างสรรค์งานศิลปะของตัวเองและวันที่ 5 จะนำผลงานทั้งหมดจัดแสดง ณ หอศิลป์ที่จัดกิจกรรมในแต่ละครั้ง รวมถึงนิทรรศการศิลปะนานาชาติสัญจรไปยังภูมิภาคต่างๆ เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ ศิลปิน และ ผู้สนใจทั่วไปได้ชื่นชม และ เห็นความแตกต่างในการสร้างสรรค์ศิลปะบนพื้นฐานทางวัฒนธรรมของแต่ละชาติ

ปัจจุบันโครงการนี้เป็นที่รู้จักกันดีในวงการศิลปะไทยรวมถึงศิลปินบางคน บางกลุ่มในต่างประเทศอีกหลายประเทศ ข้อสังเกตดังกล่าวนี้ดูได้จากจำนวนผู้เข้าร่วมทั้งที่เป็นชาวไทยและต่างประเทศตั้งแต่ครั้งที่ 1 เปรียบเทียบกับครั้งที่ 6 ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากการทำงานร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์กับสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆและหน่วยงานภาครัฐในประเทศจีนและสวีเดน ทีมงานร่วมจากวิทยาลัยเพาะช่าง นำโดย นายพนม พรกุล รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาซึ่งรับผิดชอบการบริหารงาน ณ พื้นที่เพาะช่าง กับ สภาศิลปกรรมไทยแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งมี ดร.กมลทัศนาญชลี ศิลปินแห่งชาติ กับเครือข่ายศิลปินไทย อาทิ ศาสตราจารย์ ประหยัด พงษ์ดำ ดร.ถวัลย์ ดัชนี ศาตราจารย์ เดชา วราชุน และศิลปินในต่างประเทศ

ดังนั้นโครงการนี้จึงนับเป็นโครงการหนึ่งในหลาย ๆ โครงการที่เตรียมความพร้อมด้านศิลปวัฒนธรรมให้กับประเทศสู่การแข่งขันระดับนานาชาติในช่วงที่ประเทศไทยเป็นเขตการค้าเสรี หรือ
Free Trade Area (FTA) ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า แม้ว่าโดยพื้นฐานแล้วเขตการค้าเสรีจะเป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจเป็นหลัก แต่ก็ครอบคลุมถึงการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การบริการด้านต่างๆ รวมถึงการท่องเที่ยว เป็นต้น ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์มีผลงานศิลปะสะสมของศิลปินร่วมสมัยจำนวนมาก ผลงานทั้งหมดจะนำมาแสดงในหอศิลป์ถาวรของมหาวิทยาลัย ซึ่งคาดว่าจะมีในอีก 5 ปี ข้างหน้า

ศิลปินและผลงานสะสมบางส่วน
ศิลปินแห่งชาติ : ประกิต (จิตร์) บัวบุศย์ (เสียชีวิตแล้ว) ประหยัด พงษ์ดำ ถวัลย์ ดัชนี ชำเรือง วิเชียรเขตต์ กมล ทัศนาญชลี เดชา วราชุน ปรีชา เถาทอง ทวี รัชนีกร นนทิวรรธน์ จันทนะผลิน สุเมธ ชุมสาย

ศิลปินรับเชิญ : ชวน หลีกภัย ธงชัย รักปทุม อิทธิ คงคากุล สรรณรงค์ สิงหเสนี วิรุณ ตั้งเจริญ อารี สุทธิพันธุ์ สุเทพ สังข์เพชร เกษียร สิทธิศาสตร์ บุญยิ่ง เอมเจริญ เสาวภา วิเชียรเขตต์ ญาณพล วิเชียรเขตต์ โกศล พิณกุล สุรสิทธิ์ เสาว์คง ศรีวรรณา เสาว์คง เทพศักดิ์ ทองนพคุณ สุชาติ เถาทอง วิโชค มุกดามณี ปัญญา เพ็ชรชู พีระพงษ์ ดวงแก้ว พงษ์เดช ไชยคุตรโชคชัย ตักโพธิ์ นุกูล ปัญญาดี ไมตรี หอมทอง บรรลุ วิริยาภรณ์ ประภาส สมพร แต้มประสิทธิ์ ธนฤษภ์ ทิพย์วารี สุวัฒน์ แสนขัติยรัตน์ ดนยา เชี่ยววัฒกี ฯลฯ

ศิลปินนานาชาติ : อาทิ สหรัฐอเมริกาฝรั่งเศส นิวเม็กซีโก สวีเดน อิสราเอล อามาเนียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ศรีลังกา Danaya Chiewwattakee Gegam Kacherian, Hratch Israelian, Hideo Sakata, Alejandro Martinez-Pena, Ricardo Alvarez Cruz, Mukai Katsumi, Uota Motoo, Hiro Tanabe, Tagaya Nabito, Marda Kou, Sirakawa Mashiro, Pearl Soonwoo Park, Barbara Edelstein, Anthony Zepeda, Byoung-Ok Koh, Diana Wong, Fred Spaulding, Hye sook, Hye Ryon Park, James Patrick Finnegan, Mile Saijo, Otto Youngers, Renee Amitai, Richard David Garst, Joseph Piasentin, Cheryl DeCinces Carte, Michael Costello, Jin Chan’an, Chang Yan Yan, Zhang Shouwu, Zhang Jin Li, Wu Xiaorong, Chen Weilli, Jin Xuming, Suresh Sethi , Charlie Geosso, Simon Rahimian, Suguru Hiraide,

Kye Somg Lee, James Patrick Finnegan, Mari Kadahora Joubert, Zhao Quiankun, Wen Junying, Tang Xiaoyin, Jin Yaxin, Ju Yunhe, Liu Baoguang, Li Wuming, Ingeid Roth, Ilona Benczedi, Ann Phong, Peter Liaskov, Morita Noridata, Katsutoshi Tanaka, Chang Xinhang, Wang Yanui, Lu Zhougzhi, An Dingwen, Li Haiyong, Xia Haidong, Ran Chenghi, Gayani Srimimali, Herath Katugastota, Lalith Chandana, Mahinda Ranjith, Saman Siriwardena, Sunil Santha, Sudarshana Bandara, Charles Chauderot, Rex Kalehoff, Fang U Chul, Ryu II- Seon, Jenny Persso


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น